Search

สแกน UPOV 1991 ปั้นนักวิจัย-ไม่แตะเมล็ดพันธุ์ดั้งเดิม - ประชาชาติธุรกิจ

was-trend-was.blogspot.com

ประเด็น “พันธุ์พืช” ถือเป็นความท้าทายหนึ่งของไทยในการตัดสินใจเข้าร่วมเจรจาความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP หรือไม่ ด้วยความกังวลภาคประชาสังคมที่มองว่า หากเข้าร่วม CPTPP ไทยจะต้องเข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (UPOV) 1991ต้องแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช ซึ่งอาจทำให้มีการตัดสิทธิเกษตรกรไม่ให้ถือครองเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง ให้ประโยชน์กับบริษัทผู้พัฒนาสิทธิบัตรและผู้ค้าเมล็ดพันธุ์ต่างชาติ กระทบเกษตรกรไทยต้องจ่ายค่าเมล็ดพันธุ์แพงขึ้น ล่าสุดสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์เปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หัวข้อ “CPTPP เกษตรกรไทยเสียเปรียบจริงหรือ ?” เมื่อเร็ว ๆ นี้แลกเปลี่ยนมุมมองเรื่องดังกล่าว

เก็บเมล็ดพันธุ์เก่าได้ 3 เท่า

นางสาวธิดากุญ แสนอุดม นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ กรมวิชาการเกษตรยอมรับว่า UPOV จะให้ความสำคัญกับการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ส่งผลดีกับนักปรับปรุงพันธุ์ในฐานะเจ้าของพันธุ์ ส่วนเกษตรกรจะยังสามารถใช้พืชสายพันธุ์ดั้งเดิม พืชพื้นเมืองพันธุ์ท้องถิ่นในการค้าในตลาด พันธุ์ของรัฐ และพันธุ์นำเข้า ตามวิถีชีวิตปกติของเกษตรกรไทยได้ ซึ่งในหลักเกณฑ์UPOV มีเงื่อนไขว่าสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ได้ไม่เกิน 3 เท่าของเมล็ดพันธุ์ที่ซื้อมา ดังนั้น หากเป็นเกษตรกรจริง ๆจะไม่ได้รับผลกระทบ และจะไม่ถูกลิดรอนสิทธิ์ใด ๆ ยกเว้นผู้ที่ต้องการแสวงหาผลประโยชน์จากพันธุ์จะต้องขออนุญาตจากเจ้าของพันธุ์ก่อนจึงจะได้รับการคุ้มครองอย่างถูกต้อง กรณีนี้จะต้องเจรจา “แบ่งปันผลประโยชน์”แล้วแต่กรณี ซึ่งไม่มีใครเสียเปรียบ ส่วนการแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์นั้นก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของรัฐบาลแต่ละประเทศ

แบ่งปันผลประโยชน์เมล็ดพันธุ์

เมื่อไทยเป็นภาคี UPOV ต้องเปิดโอกาสให้ต่างชาติสามารถใช้พันธุ์พืชดั่งเดิมของไทยไปปรับปรุงพันธุ์ใหม่ได้ ในทางตรงกันข้ามนักปรับปรุงพันธุ์ของไทยก็สามารถใช้พันธุ์พืชดั้งเดิมของชาติอื่น หรือผลงานวิจัยของชาติอื่นมาต่อยอดเป็นพันธุ์ใหม่ ๆ ได้เช่นกัน ซึ่งเป็นปกติของการค้าเสรี และประเด็นนี้ภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช 2542 เปิดให้ดำเนินการได้อยู่แล้ว เพียงแต่ผู้จะเข้ามาใช้พันธุ์ไม่มีสิทธิจะเป็นเจ้าของพันธุ์ดั้งเดิมเด็ดขาด

สำหรับผู้ที่จะปรับปรุงพัฒนาเชิงการค้าต้องผ่านเงื่อนไข คือ 1.ต้องพัฒนาใหม่ 2.ตรวจสอบพันธุ์ใหม่แตกต่างหรือไม่ และเมื่อจดทะเบียนแล้วต้องจ่ายค่าธรรมเนียมรายปีตามการคุ้มครองกฎหมายประเทศนั้น ๆ เช่น ญี่ปุ่นคิดค่าคุ้มครองแบบขั้นบันได ตลาดไม่มี ลดการจ่ายรายปีได้ ดังนั้น ถ้าเข้า UPOV ไทยมีสิทธิพิจารณาคุ้มครองพันธุ์เต็มที่อยู่แล้ว เราสามารถเก็บค่าธรรมเนียม และนำเงินส่วนนี้ไปพัฒนาพันธุ์ดั้งเดิม ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมให้ภาคการเกษตรของไทยพัฒนาเดินหน้าได้เร็วขึ้น

ดังนั้น การเข้าร่วม UPOV เกษตรกรจะได้ประโยชน์จากทางเลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีหลากหลายมากขึ้น เพราะทุกประเทศพัฒนาหมด แต่ที่น่าห่วงคือ ภาครัฐยังไม่พร้อมรับสถานการณ์ “เจ้าหน้าที่วิจัย” ยังไม่เพียงพอสำหรับตรวจรับรองสายพันธุ์ใหม่ ที่จะมีมากขึ้น ในอีก 3-5 ปีรัฐบาลต้องเตรียมรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น และยังต้องยอมรับว่า พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ปัจจุบันมีบางเรื่องที่ยังเข้มข้มและไม่สอดคล้องกับ UPOV 1991

สำหรับขั้นตอนการเข้าร่วม UPOV หากรัฐบาลมีนโยบายมาก็ต้องแจ้งไปที่องค์กร UPOV ก่อน เพื่อเทียบกับกฎหมายของไทยหรือไม่อย่างไร จากนั้นจะหารือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รับฟังความเห็นก่อน ทุกฝ่ายต้องเข้าใจและยอมรับร่วมกัน

โอกาสปฏิรูปเกษตรไทย

นายชัยฤกษ์ สงวนทรัพยากร นายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทยกล่าวว่าการจะเข้าร่วมเรื่องใดต้องมองถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก กรณีข้อทักท้วงว่าการเข้า UPOV ทำให้เกิดการผูกขาดของเมล็ดพันธุ์ตามกฎหมายของแต่ละประเทศ มีการคุ้มครองสิทธิทิ้งเกษตรกรและผู้ประกอบการอยู่แล้ว การละเมิดนำพันธุ์คุ้มครองไปขายเป็นอาชญากรมากกว่า อย่างไรก็ตาม มองว่าทุกหน่วยงานต้องมีมาตรการมารองรับเพื่อให้ประเทศสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ถือเป็นโอกาสปฏิรูปภาคเกษตรดีกว่าที่จะครอบครองเมล็ดพันธุ์ไว้แต่ไม่พัฒนาอะไรเลย

นางสาวกนกวรรณ ชดเชย ผู้อำนวยการบริหารสมาคมเมล็ดพันธุ์พืชภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิคกล่าวว่า ภาคเอกชนอยู่ระหว่างเตรียมข้อเสนอให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.พันธุ์พืช เพื่อให้สอดรับกับ UPOV และแก้ไขนิยามพันธุ์พื้นเมืองทั่วไป เพราะเกษตรกรจะได้ประโยชน์ในการแข่งขันมากขึ้น หากเปิดกว้างและปรับเปลี่ยนบ้าง เช่นเดียวกับในประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมาก็กำลังผลักดันเรื่องนี้ดังนั้น ไทยต้องแก้ไขกฎหมายให้เข้มแข็งเพื่อให้สอดรับกับกฎหมายสากล

นายนิพนธ์ ชัยวงศ์รุ่งเรือง เกษตรกรนักปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ พันธุ์เฉลิมกรุงสกุลหวาย ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดขณะนี้กล่าวว่า การคุ้มครองสิทธินักปรับปรุงพันธุ์คือสิ่งที่อยากได้รับจากการเข้า UPOV เพราะในการปรับปรุงพันธุ์พืชใด ๆ ต้องใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า10 ปี และยังต้องเสี่ยงว่าจะได้รับความนิยมหรือไม่ ขณะที่ปัญหาการละเมิดสิทธิเกิดขึ้นไม่น้อย เพราะกฎหมายเราไม่เข้มข้น การขโมยพันธุ์ไปใช้ทำได้ง่ายเพียงแค่แยกยีสต์ แต่งเติมก็จะได้กล้วยไม้พันธุ์ใหม่ที่ต่างไปจากพันธุ์เดิมเล็กน้อย ซึ่งถือว่าผิดต่อนักปรับปรุงพันธุ์เดิม หากสามารถยกระดับกฎหมายที่คุ้มครองสิทธินักปรับปรุงพันธุ์ให้เทียบเท่าสากลจะถือว่าเป็นสิ่งที่ดี และมั่นใจว่าการเข้าร่วม UPOV ก็จะไม่มีปัญหาการผูกขาดเกิดขึ้น

ไทยเดินตามบันได 12 ขั้น

นายพรชัย ประภาวงษ์ ผู้อำนวยการส่วนอเมริกาเหนือ สำนักอเมริกา แปซิฟิก และองค์การระหว่างประเทศ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศกล่าวว่า ความพยายามที่จะรักษาความสามารถการแข่งขัน ถ้าเรา “ตกลงทันที” จะมีผลเลยหรือไม่ ตอบว่าไม่ใช่ ซึ่งก่อนที่จะไปเจรจายังอีกไกล เรามี 12 ขั้นบันไดตอนนี้เรายังอยู่แค่บันไดขั้นที่ 3.5ส่วนไทยจะได้รับประโยชน์มากน้อยเรารับฟังหมดตลอด 2 ปีที่ผ่านมา และยังมีข้อท้วงติงอีกมาก ต้องใช้เวลาในการแก้ไขกฎหมายภายในก่อน

อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ คณะกรรมาธิการวิสามัญจะสรุปผลศึกษาก่อนที่จะเข้า ครม. ซึ่งท้ายที่สุดแล้วขึ้นอยู่ที่นโยบายรัฐบาล ซึ่งจะต้องพิจารณาให้รอบคอบผลเสีย-ผลดีที่จะเกิดขึ้นได้ในแต่ละภาคส่วนโดยเฉพาะเกษตรกรซึ่งเป็นแกนหลักของประเทศ




June 27, 2020 at 08:42AM
https://ift.tt/384l6G8

สแกน UPOV 1991 ปั้นนักวิจัย-ไม่แตะเมล็ดพันธุ์ดั้งเดิม - ประชาชาติธุรกิจ

https://ift.tt/3h4AeY4


Bagikan Berita Ini

0 Response to "สแกน UPOV 1991 ปั้นนักวิจัย-ไม่แตะเมล็ดพันธุ์ดั้งเดิม - ประชาชาติธุรกิจ"

Post a Comment

Powered by Blogger.