Search

เรียนรู้กับกูรู & ส่องไอเดียคนรุ่นใหม่ในกิจกรรมเวิร์กชอป “ยูเมะพลัส มันนี่ ฟิตเนสซีซั่น 2” - สยามรัฐ

was-trend-was.blogspot.com

บมจ.อีซี่บาย จัดกิจกรรมเวิร์กชอป Umay+ MONEY FITNESS SEASON 2 ภายใต้หัวข้อ “ใช้เงินยังไง…ให้อยู่เป็น” การประกวดสตอรี่บอร์ดเพื่อนำไปผลิตหนังสั้นไม่เกิน 3 นาที ชิงทุนการศึกษารวมกว่า 150,000บาท โดยมีนักศึกษาให้ความสนใจ ส่งผลงานเข้าประกวดกว่า 200 ทีมจาก 27 มหาวิทยาลัย จากนั้นคัดเลือก 10 ทีมเข้ารอบสุดท้าย พร้อมมอบประสบการณ์เวิร์กชอป ให้เป็นนักเล่าเรื่องที่ดีก่อนจะคัดเลือกทีมผู้ชนะเลิศที่ทำสตอรี่บอร์ดไอเดียได้เจ๋งที่สุดเพียงหนึ่งเดียวเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตหนังสั้นอย่างมืออาชีพกับโปรดักชั่นเฮ้าส์ระดับแนวหน้าของเมืองไทย

ทั้งนี้ภายในงานเวิร์กชอปปีนี้ จัดขึ้นหัวข้อ “อยากคิดพล็อตหนังให้ปังต้องทำยังไง” โดยมีโปรดักชั่นเฮ้าส์ชั้นนำ คุณอู๋ วีรยุทธ ล้อทองพานิชย์, คุณกอล์ฟ จิรายุ อาจสำอางค์พร้อมด้วยคุณเสือ พิชย จรัสบุญประชา,คุณตือ ศิวกร จารุพงศา ผู้กำกับหนังโฆษณาร่วมบรรยาย ทั้งหมดให้ความเห็นว่าการทำหนังสั้นยุคโซเชียล ซึ่งผู้ชมมีเวลาสนใจน้อย บวกกับสิ่งเร้าความสนใจภายนอกเยอะเป็นชาเลนท์อย่างหนึ่งที่คนเบื้องหลังหนังสั้นต้องแอคทีฟทุกวัน โดยหลักคีย์ซัคเซสในแต่ละยุคสมัยหัวข้อไม่เปลี่ยนไป เพียงแต่ปรับตามบริบทดังนี้

“อยากคิดพล็อตหนังให้ปัง ต้องทำยังไง? 1.ต้องตอบโจทย์ 2.มีอินไซด์ 3.ประเด็นเข้าใจง่าย 4.รู้ว่าสื่อสารกับใคร 5.ไอเดียต้องมา” ยุคนี้การสื่อสารต้องเปลี่ยน เพราะในโลกออนไลน์ทุกคนต้องการเข้าใจอย่างเร็วเปิดออกมาแล้วทุกคนต้องเข้าใจว่าเรื่องเป็นแบบไหน อะไรที่ย่อยง่ายและเร็วที่สุดผู้ชมจะใช้เวลาดู

โดยหนังสั้นแต่ละยุค ก็ไม่เหมือนกัน สูตรสำเร็จในแต่ละยุคเอามาก็อปปี้แล้ววางไม่ได้ เพราะมันขึ้นอยู่กับอินไซด์ของผู้ชมช่วงนั้นเขาทำอะไรกันอยู่ เขาอินกับเรื่องอะไร ที่สำคัญตลาดโซเชียล ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นอะไรที่อยู่กับสถานการณ์ใหม่ๆ ที่กำลังมา วัยรุ่นจะสนใจและทำความเข้าใจอย่างที่ผ่านมา ถ้ามีกลิ่นอายเกี่ยวกับโควิด หยิบสถานการณ์ปัจจุบันที่เขากำลังสนใจมาบอกเล่า ผ่านเรื่องราวที่เราต้องการจะสื่อ คนก็จะให้ความสนใจและเข้าใจได้เร็ว

ขณะที่กับคำถามที่ว่า“ปังจริงไม่อิงยอดวิววัดจากอะไร?” คนวงในทั้งสี่ตอบว่า “ปังจริง วัดจาก ความแปลกใหม่ ความน่าสนใจ เนื้อหาถูกต้อง ต้องมาก่อน ตอบโจทย์ว่าคุณกำลังจะเล่าเรื่องอะไร โดยเฉพาะหนังสั้นประกวด แต่ละหัวข้อ ทำมาตอบโจทย์แค่ไหน อยากพูดเรื่องการออมแต่คุณไปเล่าสโลว์ไลฟ์ มันไม่ไปด้วยกัน ต้องพูดเรื่องที่เกี่ยวกับหัวข้อ อยู่กับประเด็น บนถนนเส้นหลัก อย่างหลงเข้าซอย พูดเรื่องเดียวกันนี้แหละแต่จะสร้างความแตกต่างให้กับเรื่องตัวเองได้อย่างไร ขึ้นอยู่กับวิธีการนำเสนอ”

เรียนรู้กับกูรูไปหลายแง่มุม หลังจากนี้เป็นการส่องไอเดียคนรุ่นใหม่ พร้อมช่วยต่อเติม ก่อนทั้งหมด จะนำผลงานไปปรับปรุงเพื่อพรีเซนต์ต่อคณะกรรมการในรอบชิงชนะเลิศ โดย 10 สุดยอดไอเดียที่เข้ารอบ ในหัวข้อ “ใช้เงินยังไง…ให้อยู่เป็น” ของกิจกรรม Umay+ MONEY FITNESS SEASON 2 มีดังนี้ 1.ชื่อเรื่อง : จอมทอง จากทีมยัง เครซี่จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ 2.ชื่อเรื่อง : กระปุกหมูกู้ชีวิต จากทีมอันเดอร์ ดรีม มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก3.ชื่อเรื่อง คัมภีร์พระตังค์ซัมจั๋ง จากทีมซีอิ๊ว จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ 4.ชื่อเรื่อง : Mindset จากทีมมายด์เซต จากมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา 5.ชื่อเรื่อง : Timeline ไม่ คิด จากทีมรูดปี๊ด ปื๊ด จากมหาวิทยาลัยศิลปากร

6.ชื่อเรื่อง : 30 จากทีมสามเส้า มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 7.ชื่อเรื่อง ผู้มาจากอนาคต จากทีม ไอ ด้อนโนว มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต8.ชื่อเรื่อง เงินเก็บ จากทีมกาชิมูชิจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ 9.ชื่อเรื่อง : อย่าแกงตัวเอง จากทีมนาตาชาโรมานอฟ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 10.ชื่อเรื่อง: สูตร (ไม่) ตายตัว จากทีมแพโกพายอ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ทั้งนี้มาร่วมค้นหาทีมผู้ชนะเลิศที่จะได้รับทุนการศึกษาพร้อมได้ประสบการณ์ร่วมผลิตหนังสั้นกับ WinkWink Production (วิ้งวิ้ง โปรดักชั่น) และ Dexter Bangkok (เด็กซ์เตอร์แบงคอก) ร่วมกับคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญทั้ง 4 ท่าน คุณอู๋ วีรยุทธ ล้อทางพานิชย์,คุณกอล์ฟ จิรายุ อาจสำอางค์,คุณเสือ พิชย จรัสบุญ ประชา และคณะกรรมการรับเชิญคุณเก้า จิรายุ ละอองมณี วันศุกร์ที่ 28 ส.ค.นี้ที่หอศิลป์กรุงเทพฯ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.umayplusmoneyfitness.com เฟสบุ๊ค I love EASY BUY




August 20, 2020 at 05:41PM
https://ift.tt/3298qLE

เรียนรู้กับกูรู & ส่องไอเดียคนรุ่นใหม่ในกิจกรรมเวิร์กชอป “ยูเมะพลัส มันนี่ ฟิตเนสซีซั่น 2” - สยามรัฐ

https://ift.tt/3h4AeY4


Bagikan Berita Ini

0 Response to "เรียนรู้กับกูรู & ส่องไอเดียคนรุ่นใหม่ในกิจกรรมเวิร์กชอป “ยูเมะพลัส มันนี่ ฟิตเนสซีซั่น 2” - สยามรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.