วันอาทิตย์ ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.
1.ครั้งนี้จ่าหัวข้อเรื่องยาวเป็นรถไฟเลยทีเดียว เพราะว่าเมื่อหยิบระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการสอบสวนผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ประธานสภาท้องถิ่น รองประธานสภาท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่นและที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2554 ขึ้นมาดูจะเห็นว่ากระบวนการดำเนินการทางวินัยกับบุคคลดังกล่าวต้องเป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้
2.ต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2539 ตลอดจนพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ.2542 ก็ได้มีการแก้ไขปรับปรุงเกี่ยวกับกระบวนการสอบสวนของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองดังกล่าวข้างต้นเพิ่มเติมในปี พ.ศ.2562 โดยกำหนดให้มีการสอบสวนพิจารณาผู้บริหารท้องถิ่นต้องใช้หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง และขณะนี้ยังไม่มีการออกกฎกระทรวงดังกล่าว เช่นนี้ ผู้มีอำนาจสอบสวนตามกฎหมายนั้นจะดำเนินการประการใด หรือสามารถหยิบระเบียบกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ.2554 ข้างต้นขึ้นมาเทียบเคียงใช้ได้หรือไม่เพราะว่ากฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวก็มิได้มีการกำหนดบทเฉพาะกาลรองรับไว้
3.กระทรวงมหาดไทย จึงได้หารือกรณีดังกล่าวต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาจำนวน 2 ประเด็น
4.คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้วมีความเห็นโดยสรุป ดังนี้
1) ประเด็นที่ 1 กรณีการดำเนินการสอบสวนผู้บริหารท้องถิ่นในระหว่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนผู้บริหารท้องถิ่นดังกล่าว ยังไม่มีผลใช้บังคับเช่นนี้จะต้องดำเนินการประการใดนั้น โดยที่เรื่องนี้เป็นกรณีที่จังหวัดหารือกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงมหาดไทยได้มีความเห็นในเรื่องดังกล่าวไปแล้ว (โดยให้นำระเบียบกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวมาเทียบเคียงใช้)โดยไม่มีการโต้แย้งความเห็นดังกล่าว จึงไม่มีเหตุที่คณะกรรมการกฤษฎีกาจะพิจารณาให้ความเห็น
2) ประเด็นที่ 2 กรณีที่คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) ได้ให้ความเห็นไว้ในเรื่องเสร็จที่ 1081/2558 และภายหลังศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ อ.89/2562 ที่แตกต่างไปเช่นนี้กระทรวงมหาดไทยจะถือปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวอย่างไรนั้น โดยที่ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1)ดังกล่าว (เรื่องเสร็จที่ 1081/2558) และคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด(อ.89/2562) เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 14)พ.ศ.2562 ใช้บังคับ บัดนี้กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีการแก้ไขข้อขัดข้องในเรื่องดังกล่าวทุกฉบับแล้ว โดยกำหนดให้สามารถดำเนินการสอบสวนเพื่อสั่งให้พ้นจากตำแหน่งได้ แม้ว่าผู้นั้นจะได้พ้นจากตำแหน่งไปแล้วไม่ว่าด้วยเหตุใด เว้นแต่เพราะเหตุตาย หรือ พ้นจากตำแหน่งไปแล้วเกินสองปี ดังเช่นที่กำหนดไว้ในมาตรา 73/1 วรรคหนึ่งแห่งพ.ร.บ.เทศบาลฯ (ฉบับที่ 14) (เรื่องเสร็จที่ 667/2563)
August 23, 2020 at 06:00AM
https://ift.tt/3j59x5L
การเมือง - ราชการแนวหน้า : การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - หนังสือพิมพ์แนวหน้า
https://ift.tt/3h4AeY4
Bagikan Berita Ini
0 Response to "การเมือง - ราชการแนวหน้า : การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - หนังสือพิมพ์แนวหน้า"
Post a Comment