Search

ราชบัณฑิตยสภาฯปลุกจิตสำนึกตระหนักคุณค่าภาษาไทย - บ้านเมือง

was-trend-was.blogspot.com

วันพฤหัสบดี ที่ 03 กันยายน พ.ศ. 2563, 19.21 น.

ราชบัณฑิตยสภาฯสานต่อเนื่อง “วันภาษาไทยแห่งชาติ” ปลุกจิตสำนึกให้คนไทยตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย เชิดชูเอกลักษณ์ของชาติให้คู่ชาติไทยตลอดไป

ตามพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2558 สำนักงานราชบัณฑิตยสภามีหน้าที่ข้อหนึ่งคือ “จัดการศึกษาอบรมและพัฒนาทางวิชาการเกี่ยวกับภาษาไทย ภาษาไทยถิ่น” และ “กําหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย การอนุรักษ์ภาษาไทย มิให้แปรเปลี่ยนไปในทางที่เสื่อม การส่งเสริมภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้ปรากฏเด่นชัดยิ่งขึ้น” สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจึงได้ดำเนินโครงการจัดงานวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2563 ขึ้น ภายใต้หัวข้อ “รู้ทันสีสันภาษาสื่อ” ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งในโครงการ “รู้ รัก ภาษาไทย”

ดร.ดวงตา ตันโช เลขาธิการราชบัณฑิตยสภา เปิดเผยถึงการจัดงานว่า “สำนักงานราชบัณฑิตยสภามีหน้าที่หลักประการหนึ่งในการอนุรักษ์ภาษาไทยมิให้แปรเปลี่ยนไปในทางที่เสื่อม การส่งเสริมภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้ปรากฏเด่นชัดยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยทั้งชาติ ได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือกันทำนุบำรุง ส่งเสริม และรักษาภาษาไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป” สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้จัดกิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ. 2554 และในปี พ.ศ.2564 นี้ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้จัดกิจกรรมเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ เป็น 2 กิจกรรม ดังนี้

1.การประกวดเล่าเรื่องหัวข้อ “ภูมิปัญญาท้องถิ่น : ของกิน ของเล่น ของใช้” สำหรับเยาวชนซึ่งเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ป. 4-6) จากโรงเรียนต่าง ๆ ในแต่ละภาค โดยให้นักเรียนเล่าเรื่องด้วยภาษาไทยถิ่นและภาษาไทยมาตรฐานที่แสดงความสามารถในการใช้ภาษาไทยถิ่น มีเนื้อหาที่ผู้ฟังประทับใจ และเล่าเรื่องได้อย่างเป็นธรรมชาติสมวัย

2.งานวันภาษาไทยแห่งชาติ ซึ่งในปีนี้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) จึงได้เลื่อนการจัดงานจากวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เป็นวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2563 ภายใต้หัวข้อ “รู้ทันสีสันภาษาสื่อ” ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ โดยสำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีเปิดงานพร้อมมอบเกียรติบัตรให้แก่นักเรียนที่ชนะการประกวดเล่าเรื่องหัวข้อ “ภูมิปัญญาท้องถิ่น : ของกิน ของเล่น ของใช้” และได้รับเกียรติจาก นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วย 

นอกจากนี้ยังมีการเสวนาทางวิชาการหัวข้อ “รู้ทันสีสันภาษาสื่อ” มีผู้ร่วมเสวนาได้แก่ นายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง กรรมการควบคุมจริยธรรม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย , นายระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ,นายพีรพล อนุตรโสตถิ์ ผู้ดำเนินรายการชัวร์ก่อนแชร์ ,ศาสตราจารย์ ดร.พิรงรอง รามสูต จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร ภักดีผาสุข จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดังกมล ณ ป้อมเพชร รองคณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินการเสวนา

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าในนามของรัฐบาลต้องขอขอบคุณราชบัณฑิตยสภาที่กรุณาจัดให้มีกิจกรรมสำคัญเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติประจำปีนี้ขึ้น ในวันนี้ก็เหมือนอย่างที่ท่านเลขาธิการได้กล่าวในรายงานว่า วันนี้อาจไม่ตรงกับวันภาษาไทยแห่งชาติ เพราะว่ากิจกรรมหลายอย่างต้องถูกเลื่อนออกไปเหมือนกิจกรรมอย่างอื่นอีกเป็นอันมาก เพื่อหลีกช่วงระยะเวลาที่มีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า Covid-19 เมื่อสถานการณ์บรรเทาเบาบางลงจึงได้ฟื้นฟูกลับมาจัดกิจกรรมกันใหม่ กิจกรรมใดที่อาจระงับเลิกไปได้ก็อาจจะต้องยกเลิกไป ความจริงกิจกรรมในวันนี้อาจจะเลิกหรือระงับเสียก็ได้ แต่การที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้กรุณามีแก่ใจฟื้นขึ้นเพื่อให้เกิดความสืบเนื่อง เพราะได้เคยจัดอย่างต่อเนื่องกันมาหลายสิบปีไม่เคยขาดไม่เคยเว้น จะมาเว้นเพราะว่าด้วย Covid เสียได้กระไร ก็ต้องถือว่าเป็นสิ่งที่น่ายกย่องสรรเสริญ เพราะทราบกันทั่วไปว่า การจัดงานเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาตินั้น มีปฐมเหตุมาจากการที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ได้เคยมีพระราชดำรัสถึงความสำคัญของภาษาไทยไว้ ในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินร่วมการอภิปรายทางวิชาการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อหลายปีมาแล้ว การมีพระราชดำรัสครั้งนั้น ได้ประทับร่วมกับนักปราชญ์ราชบัณฑิตทางภาษาของประเทศหลายคน ได้ประทับบนเวทีร่วมกัน ได้ทรงตั้งคำถาม ได้ทรงตอบคำถาม ได้ทรงแสดงพระราชทัศนะ และได้มีประโยคสำคัญเกิดขึ้น คือ การที่ทรงขอให้คนไทยรำลึกถึงความสำคัญของภาษาไทย ช่วยกันรักษา ช่วยกันใช้ ช่วยกันต่อยอด ช่วยกันพัฒนา การอภิปรายทางวิชาการในวันนั้น ได้มีแล้วก็ผ่านพ้นไป แต่บรรดาครู ๆ บรรดาผู้รู้ทั้งหลายกลับมาย้อนนึกถึงแล้วก็เกิดความปิติอิ่มเอิบ ขณะเดียวกันก็เกิดความไม่สบายใจว่า เราทั้งหลายที่เป็นคนไทย ถึงเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินท่านไม่ได้มีพระราชดำรัสแบบนั้น ก็เป็นหน้าที่ที่เราจะต้องรักษาภาษาไทย ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง อย่าให้ภาษาวิบัติ หรือคลาดเคลื่อน จนกระทั่งได้มีกระแสพระราชดำรัสอย่างนั้นแล้ว จะอยู่นิ่งนอนเฉยเสียได้กระไร จุดนี้เองจึงนำไปสู่ข้อเสนอไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ประกาศเอาวันที่ระลึกถึงการเสด็จพระราชดำเนินยังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในครั้งกระนั้นเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ เมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้ว แล้วก็เลยกลายเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติสืบมาจนทุกวันนี้ คนที่จะจัดกิจกรรมเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติมีมากหลากหลาย มหาวิทยาลัยต่าง ๆ โรงเรียนต่าง ๆ สถาบันต่าง ๆ ก็แยกกันจัดอยู่ทั่วไป แต่สถาบันหนึ่งซึ่งเป็นหลักเป็นประธานของประเทศจะอยู่เฉย ไม่จัดอะไรเลยเห็นจะไม่ได้ก็คือ ราชบัณฑิตยสภา เพราะว่าราชบัณฑิตยสภา เป็นหลักเป็นประธานขององค์ความรู้ทั้งหลายของประเทศ เป็นหน้าเป็นตา เป็นศรีเป็นสง่าขององค์ความรู้ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นอักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์




September 03, 2020 at 07:21PM
https://ift.tt/3lNKo1J

ราชบัณฑิตยสภาฯปลุกจิตสำนึกตระหนักคุณค่าภาษาไทย - บ้านเมือง

https://ift.tt/3h4AeY4


Bagikan Berita Ini

0 Response to "ราชบัณฑิตยสภาฯปลุกจิตสำนึกตระหนักคุณค่าภาษาไทย - บ้านเมือง"

Post a Comment

Powered by Blogger.